นางสาวนันทะณี ยามเลย
นางสาวนันทะณี ยามเลย ครูผู้สอนคนพิการกศน.อำเภองาว
วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
สะพานข้ามลำน้ำงาว เป็นสัญลักษณ์ของอำเภองาวไปแล้ว ตั้งอยู่กลางอำเภองาว คนที่เดินทางมายังอำเภองาว ก็จะเห็นสะพานไม้ขนาดกลาง ๆ ทอดตัวผ่านแม่น้ำซึ่งเรียกว่าแม่น้ำงาว เห็นแล้วสะดุดตากับผู้คนที่ได้พบเห็น สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งพักผ่อนในช่วงยามเย็นมากกว่า เพราะบนสะพานโยงจะไม่ให้นำรถวิ่งผ่านไปมาแล้ว ในปัจจุบัน สังเกตุได้จากมีที่กั้นรถวิ่งบนสะพาน ส่วนทางขึ้นสะพานจะมีร้านค้าตั้งขายของอยู่ คนที่เดินทางมาเที่ยวบนสะพานงาวก็จะได้เห็นวิถีชีวิตคนอำเภองาว อำเภอเล็ก ๆ ที่มีตลาดขนาดน้อย ๆ กับวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำงาว ประวัติสะพานโยงสัญลักษณ์อำเภองาว ในปี พ.ศ. 2458 กรมทางหลวงแผ่นดินได้มีการขยายสร้างถนนพหลโยธิน ช่วงจังหวัดลำปางไปยังจังหวัดเชียงราย เมื่อสร้างถนนมาถึงอำเภองาว ซึ่งมีแม่น้ำขวางกั้นอยู่ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำงาวขึ้นที่บ้านน้ำล้อม ตำบลหลวงใต้ ข้ามมายังตลาดบ้านหลวงเหนือ ตำบลหลวงเหนือ เป็นสะพานเหล็กแขวน มีเสากระโดงสองฝั่งใช้รอกดึงสายโยงไม่มีเสากลาง พื้นสะพานเป็นหมอนไม้วางบนรางเหล็กเหมือนรางรถไฟ ปูพื้นด้านบนด้วยไม้ ความกว้างของสะพาน 4 เมตร ยาว 80 เมตร เสากระโดงสูง 18 เมตร ผู้ออกแบบก่อสร้างโดย นายช่างเยอรมัน ผู้ควบคุมการก่อสร้างโดย ขุนเจนจบทิศ และหม่อมเจ้าเจริญใจ เริ่มก่อสร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2469 สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2471 ใช้เวลาการสร้าง 18 เดือน สะพานไม้นี้ไม่มีชื่อเป็นทางการ แต่กรมทางหลวงแผ่นดินเรียกว่า "สะพานข้ามลำน้ำงาว" มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย |
การเดินทาง |
|
|
น้ำพริกอ่อง อีกหนึ่งเมนูสำหรับคุณพ่อบ้านคุณแม่บ้านที่กำลังดูแลสุขภาพคงจะหนีไม่พ้นน้ำพริกผักจิ้ม แต่ขึ้นชื่อว่าน้ำพริก หลายคนที่กลัวรสเผ็ดคงเข็ดขยาด ทว่าเมนูที่เราจะนำเสนอวันนี้ รับรองว่าทานได้ตั้งแต่เด็กยันคุณพ่อบ้านคุณแม่บ้านที่รักสุขภาพเลยค่ะ อย่าลังเลและรีรออยู่เลย ความอร่อยของน้ำพริกอ่องกำลังรอคุณอยู่ เตรียมเปิดตู้เย็นหาวัตถุดิบกับเลยค่ะ
เครื่องปรุงน้ำพริกอ่อง
- หมูสับละเอียด 1 ขีด
- พริกแห้งเม็ดใหญ่ตัดท่อนคั่วพอหอม 10 เม็ด (หากกลัวเผ็ดก็ลดลงได้ไม่ว่ากันค่ะ)
- หอมแดงซอย 10 หัว
- กระเทียมสับ 10 กลีบ
- กะปิ 2 ช้อนชา
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
- น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
- มะเขือเทศลูกเล็กซอย 1 ถ้วยตวง
- น้ำมันพืชสำหรับผัด
- น้ำซุป (น้ำต้มกระดูกหมู)
วิธีทำน้ำพริกอ่อง
- เตรียมเครื่องผัดโดยการนำพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม เกลือ กะปิ ลงโขลกในครกให้ละเอียด หรือคุณแม่บ้านสมัยใหม่ใช้เครื่องปั่นก็ไม่ว่ากันค่ะ
- ตั้งกระทะไฟกลางใส่น้ำมันลงผัดพอร้อนใส่เครื่องที่เราโขลกเตรียมไว้ลงผัด เติมหมูสับ มะเขือเทศซอย น้ำซุป ผัดให้ง่วนพอเป็นน้ำขลุกขลิก ปรุงรสเพิ่มด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ชิมรสตามชอบ
จัดเสิร์ฟน้ำพริกอ่องใส่ชามน่ารักพร้อมเครื่องเคียงผักสด แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาวรับประทานคู่กัน อย่าลืมเคียงคู่ข้างจานด้วยไข่ต้มยางมะตูม กับข้าวสวยร้อนๆ แค่นี้ก็อิ่มสบายท้องกับเมนูน้ำพริกอ่องของครอบครัวอีกหนึ่งเมนู สาวๆ ที่รักษาสุขภาพดูแลรูปร่างอย่าลืมทำเมนูนี้ไว้ติดบ้านนะคะ
สูตรอาหารไทย : แกงเขียวหวานไก่
[ GREEN CURRY WITH CHICKEN ]
แกงเขียวหวานไก่ เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมมาก โดยติดอันดับ 1 ใน 10 อาหารไทยยอดนิยมที่ชาวต่างขาติชอบรับประทาน สีเขียวของแกงเขียวหวานได้มาจากน้ำพริกแกงเขียวหวาน ซึ่งใช้พริกสดสีเขียวเป็นส่วนผสม รสชาติกลมกล่อม ระดับความเผ็ดปรับลดได้ ตามปริมาณเครื่องแกงที่ใส่ลงไป เนื่องจากเป็นแกงกะทิ จึงควรรับประทานแต่พอดี ไม่อย่างนั้นจะมีผลต่อน้ำหนักตัวได้ แกงเขียวหวานนิยมรับประทานคู่กับขนมจีน หรือจะทานกับข้าวสวยเป็นกับข้าวก็ได้
|
|
ใบเตย สรรพคุณและประโยชน์ของใบเตยหอม 22 ข้อ !
สารบัญ [แสดง]
เตย
เตย หรือ เตยหอม ชื่อสามัญ Pandan Leaves, Fragrant Pandan, Pandom wangi
เตย ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odorus Ridl.) จัดอยู่ในวงศ์เตยทะเล (PANDANACEAE)
สมุนไพรเตย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ใบส้มม่า (ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ต้นเตยหอม จัดเป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ ลักษณะของเป็นทางยาว สีเขียวเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งมีขอบใบเรียบ ซึ่งเราสามารถนำใบเตยมาใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง ในใบเตยจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย (Fragrant Screw Pine) โดยกลิ่นหอมของใบเตยนั้นมากจากสารเคมีที่ชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกันกับที่ได้ใน ข้าวหอมมะลิ ขนมปังขาว และดอกชมนาด
นอกจากนี้ใบเตยยังประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอีกหลายชนิด โดยใบเตยหอม 100 กรัมนั้นจะมีเบต้าแคโรทีน 3 ไมโครกรัม, วิตามินซี 8 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 1.2 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 124 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัม, โปรตีน 1.9 กรัม และให้พลังงานถึง 35 กิโลแคลอรี่ !
ใบเตยเป็นพืชที่คนไทยทุกคนต่างก็รู้จักกันดี เนื่องจากมีการนำมาใช้กันอย่างหลากหลายตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาปรุงแต่งอาหารอย่างขนมไทยให้มีกลิ่นหอม อร่อย และยังให้สีสันน่ารับประทานอีกด้วย
ประโยชน์ของใบเตย
- ใบเตยหอม สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)
- การดื่มน้ำใบเตยจะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็นทานแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย
- รสหวานเย็นของใบเตย ช่วยชูกำลังได้
- การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
- ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
- ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้นการรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสดชื่นได้
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งตามตำรับยาไทยได้มีการนำใบเตยหอม 32 ใบ, ใบของต้นสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือน หรือจะใช้รากประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นก็ได้เหมือนกัน (ใบ,ราก)
- ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
- ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
- ใบเตย สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้
- ใบเตยช่วยดับพิษร้อนภายในได้เป็นอย่างดี
- ใช้รักษาโรคหืด (ใบ)
- สรรพคุณใบเตยใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น,ราก)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการใช้ต้น 1 ต้นหรือจะใช้รากครึ่งกำมือก็ได้ นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ต้น)
- สรรพคุณของใบเตยใช้รักษาโรคหัดได้
- ใบเตยสดนำมาตำใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้
- ประโยชน์ใบเตย มีการนำใบเตยมาใช้แต่งกลิ่นอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของหวานต่าง ๆ อย่าง ขนมลอดช่อง ขนมชั้น รวมไปถึงเค้กและสลัด เป็นต้น
- มีการนำใบเตยมาทุบพอแตก นำไปใส่ก้นลังถึงสำหรับนึ่งขนม จะทำให้ขนมที่สุกแล้วมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก
- ใช้ใบเตยลองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วจะทำให้มีกลิ่นหอมมาก
- สีเขียวของใบเตยเป็นสีของ คลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งสีขนมได้
- ใช้ใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว แล้วตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น จะทำให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดมีกลิ่นเหมือนน้ำมันใหม่ใบสามารถใช้ไล่แมลงสาบได้
- ประโยชน์ของใบเตยกับการนำมาใช้ทำเป็นทรีทเม้นท์สูตรบำรุงผิวหน้า ด้วยการใช้ใบเตยล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที
วิธีทำน้ำใบเตยหอม
- การทำน้ำใบเตยอย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ใบเตยหั่น 2 ถ้วย, น้ำตาลทราย 5 ช้อนโต๊ะ, น้ำ 4 ถ้วย, และน้ำแข็งก้อน
- นำใบเตยที่หั่นไว้ครึ่งหนึ่ง แล้วใส่ลงในโถปั่นพร้อมกับน้ำเล็กน้อย แล้วปั่นจนละเอียด
- เมื่อปั่นเสร็จให้กองเอากากออก จะน้ำใบเตยสีเขียว ให้เทใส่ถ้วยแล้วพักไว้
- ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟระดับกลาง ๆ จนเดือด ใส่ใบเตยที่เหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่งลงไปต้มประมาณ 5-10 นาที
- ใส่น้ำตาลลงในหม้อต้นจนน้ำตาลละลาย แล้วให้ปิดไฟแล้วยกลง แล้วกรองเอากากออก
- หลังจากนั้นให้ยกหม้อขึ้นตั้งไฟระดับกลางอีกครั้ง รอจนเดือดแล้วปิดไฟ ยกหม้อลงปล่อยให้เย็นเป็นอันเสร็จ น้ำใบเตย ใส่น้ำแข็งเสร็จดื่มได้เลย…
ข่า สรรพคุณและประโยชน์ของข่า 53 ข้อ !
ข่า
ข่า ภาษาอังกฤษ Galanga, Greater Galangal, False Galangal ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. จัดอยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE เช่นเดียวกับกระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และว่านรากราคะ
นอกจากนี้ข่ายังชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีกเช่น สะเอเชย เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน), ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กฎุกกโรหินี (ภาคกลาง) เป็นต้น
ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) และยังประกอบไปด้วย ใบ ดอก ผล และเมล็ด โดยจัดอยู่ในตระกูล ขิง เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บ้านเรารวมทั้งอินโดนีเซียนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริกต่าง ๆ ใช้ปรุงรสในอาหารต่าง ๆ อย่างต้มข่า ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนยังใช้นับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย
ประโยชน์ของข่า
- ช่วยให้เจริญอาหาร (ข่าหลวง)
- ช่วยบำรุงร่างกาย (เหง้า)
- ช่วยบำรุงธาตุไฟ (หน่อ)
- ข่ามีสาร 1-acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งจากการเหนียวนำของสารก่อมะเร็ง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว (เหง้า)
- มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (สารสกัดจากเหง้า)
- สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (สารสกัดจากเหง้า)
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (เหง้าแก่,สารสกัดจากเหง้า)
- ช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น (ราก)
- น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีประโยชน์อย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจ จึงมีส่วนช่วยแก้อาการหวัด ไอ และเจ็บคอได้เป็นอย่างดี (สารสกัดจากเหง้า)
- ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก (หน่อ)
- ช่วยแก้ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง (เหง้าแก่)
- ข่าสรรพคุณทางยาช่วยแก้เสมหะ (เหง้า,ราก)
- ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
- ผงจากผลแห้งสามารถนำมาใช้รักษาอาการปวดฟันได้ ด้วยการนำผลไปบดแล้วนำมาทาบริเวณที่ปวด (ผลข่า)
- ใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
- ดอกข่ารับประทานช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ดอก)
- ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
- ข่า สรรพคุณช่วยแก้บิด ปวดมวนท้อง ลมป่วง ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหารวันละ 3 เวลา (เหง้า)
- ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (ผลข่า)
- ช่วยอาการแก้อาหารเป็นพิษ (เหง้า)
- เหง้าข่าแก่ช่วยย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (เหง้าแก่,ผลข่า)
- มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (เหง้า)
- ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร (เหง้า)
- ช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างในลำไส้ (สารสกัดจากเหง้า)
- ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (สารสกัดจากเหง้า)
- ช่วยขับน้ำดี (เหง้า)
- ช่วยแก้ดีพิการ (ข่าหลวง)
- ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับรก ด้วยการใช้เหง้านำมาตำกับมะขามเปียกและเกลือให้หญิงรับประทานหลังคลอด (เหง้า)
- ใช้เป็นยารักษาแผลสด (สารสกัดจากเหง้า)
- ช่วยลดอาการอักเสบ (เหง้า)
- สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยต้านอาการแพ้ต่าง (สารสกัดจากเหง้า)
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (สารสกัดจากเหง้า)
- สรรพคุณ ข่าใช้รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (เหง้า)
- ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา (สารสกัดจากเหง้า)
- ช่วยฆ่าพยาธิ (น้ำมันหอมระเหย,ใบ)
- สรรพคุณของข่า ช่วยรักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้เหง้าแก่เท่าหัวแม่มือ นำมาตำจนละเอียดผสมกับเหล้าโรง ใช้ทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย (เหง้า,ใบ)
- ช่วยแก้ฝีดาษ (ดอกของข่าลิง)
- ใช้เป็นยาแก้ลมพิษ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่ ๆ ที่สด 1 แง่ง นำมาตำจนละเอียด แล้วเติมเหล้าโรงพอแฉะ และใช้ทั้งน้ำและเนื้อนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อย ๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น (เหง้า)
- ช่วยแก้โรคน้ำกัด ด้วยการใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ นำมาตำให้ละเอียดแล้วเติมเหล้าโรงพอท่วมทิ้งไว้ 2 วัน แล้วใช้สำลีชุบแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ (เหง้า)
- ช่วยแก้ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง เคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้เหง้าแก่ตำละเอียด นำมาพอกบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดแล้วนำไปแช่กับเหล้าขาวหรือน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ 1 วันกรองเอาแต่น้ำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น (เหง้า)
- ช่วยแก้ตะคริว (เหง้า)
- ช่วยแก้เหน็บชา (เหง้า)
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อาการปวดบวมตามข้อ ด้วยการใช้ต้นข่าแก่นำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าวแล้วทาแก้อาการ (ต้นแก่,ใบ,สารสกัดจากเหง้า)
- ดอกและลำต้นอ่อนสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้ (ลำต้น,ดอก)
- เหง้าของข่าลิง เอามาต้มน้ำแล้วนำน้ำมาผสมกับสุรา จะช่วยเพิ่มดีกรีของสุรา ทำให้ดีกรีไม่ตก สุรามีกลิ่นฉุนแรงมากขึ้น (เหง้าของข่าลิง)
- ช่วยแก้กามโรค (เหง้าของข่าลิง)
- ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ
- สารสกัดจากเหง้าข่ามีฤทธิ์ช่วยฆ่าแมงลงวันได้ (สารสกัดจากเหง้า)
- ประโยชน์ข่าช่วยไล่แมลง ด้วยการใช้เหง้านำมาตำให้ละเอียดเพื่อเอาน้ำมันหอมระเหย แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง (เหง้า)
- ข่ามีเหง้าที่มีน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอม สามารถใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ กุ้งหอยปูปลาได้เป็นอย่างดี (สารสกัดจากเหง้า)
- ในบางประเทศใช้ข่าเพื่อช่วยระงับกลิ่นปากปากและใช้ดับกลิ่นกาย
- ข่า ประโยชน์นำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง ต้มยำปลา แกงมัสมั่น แกงเทโพ แกงไตปลา ผัดเผ็ด ลาบ ฯลฯ
- ประโยชน์ของข่า มีการนำข่าไปผลิตหรือแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือชา ทำลูกประคบ สเปรย์ดับกลิ่น ฯลฯ
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.rspg.or.th, www.samunpri.com,
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)