วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559





สะพานข้ามลำน้ำงาว เป็นสัญลักษณ์ของอำเภองาวไปแล้ว ตั้งอยู่กลางอำเภองาว คนที่เดินทางมายังอำเภองาว ก็จะเห็นสะพานไม้ขนาดกลาง ๆ ทอดตัวผ่านแม่น้ำซึ่งเรียกว่าแม่น้ำงาว เห็นแล้วสะดุดตากับผู้คนที่ได้พบเห็น สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งพักผ่อนในช่วงยามเย็นมากกว่า เพราะบนสะพานโยงจะไม่ให้นำรถวิ่งผ่านไปมาแล้ว ในปัจจุบัน สังเกตุได้จากมีที่กั้นรถวิ่งบนสะพาน ส่วนทางขึ้นสะพานจะมีร้านค้าตั้งขายของอยู่ คนที่เดินทางมาเที่ยวบนสะพานงาวก็จะได้เห็นวิถีชีวิตคนอำเภองาว อำเภอเล็ก ๆ ที่มีตลาดขนาดน้อย ๆ กับวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำงาว
ประวัติสะพานโยงสัญลักษณ์อำเภองาว
ในปี พ.ศ. 2458 กรมทางหลวงแผ่นดินได้มีการขยายสร้างถนนพหลโยธิน ช่วงจังหวัดลำปางไปยังจังหวัดเชียงราย เมื่อสร้างถนนมาถึงอำเภองาว ซึ่งมีแม่น้ำขวางกั้นอยู่ จึงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำงาวขึ้นที่บ้านน้ำล้อม ตำบลหลวงใต้ ข้ามมายังตลาดบ้านหลวงเหนือ ตำบลหลวงเหนือ เป็นสะพานเหล็กแขวน มีเสากระโดงสองฝั่งใช้รอกดึงสายโยงไม่มีเสากลาง พื้นสะพานเป็นหมอนไม้วางบนรางเหล็กเหมือนรางรถไฟ ปูพื้นด้านบนด้วยไม้ ความกว้างของสะพาน 4 เมตร ยาว 80 เมตร เสากระโดงสูง 18 เมตร ผู้ออกแบบก่อสร้างโดย นายช่างเยอรมัน ผู้ควบคุมการก่อสร้างโดย ขุนเจนจบทิศ และหม่อมเจ้าเจริญใจ
เริ่มก่อสร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2469 สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2471 ใช้เวลาการสร้าง 18 เดือน สะพานไม้นี้ไม่มีชื่อเป็นทางการ แต่กรมทางหลวงแผ่นดินเรียกว่า "สะพานข้ามลำน้ำงาว" มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
การเดินทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น