วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559




โยคะ
                ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีการนำโยคะมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยบางอย่างเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรคเครียดและโรคอื่นๆที่มีสาเหตุมาจากความเครียด เนื่องจากวิธีของโยคะจะเน้นการฝึกทั้งร่างกายและจิตใจไปด้วยกัน จึงช่วยบรรเทาอาการเครียดได้  โยคะเป็นศาสตร์ที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ในยุคเริ่มแรกศาสตร์ดังกล่าวเป็นเรื่องของจิตล้วนๆ ว่าด้วยการฝึกจิตเพื่อนำไปสุ่การหลุดพ้น เมื่อเวลาผ่านไป เทคนิคต่างๆ รวมทั้งการฝึกฝนร่างกาย ได้รับการคิดค้นรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์นี้  อย่างไรก็ตามเทคนิคหลายอย่างโดยเฉพาะทางด้านกาย ซึ่งมีรูปธรรมชัดเจนนั้น   ได้เข้าสู่ประเทศทางตะวันตก  มีผู้สนใจเป็นจำนวนมากที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับโยคะ ยิ่งศึกษายิ่งรับรู้ถึงประโยชน์ของโยคะ  รวมทั้งได้ค้นพบประโยชน์การของโยคะในแง่การบำบัดโรค จึงส่งผลให้โยคะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง


โยคะ คืออะไร ?

โยคะ คือ การบริหารกาย ลมหายใจ และ การผ่อนคลาย (อาสนะ และ ปรารณายาม) โดยเว้นหรือข้ามส่วนที่เป็นการฝึกจิตโดยตรง ขณะเดียวกันยังคงแฝงนัยแห่ง การฝึกจิดโดยอ้อมอยู่อย่างครบถ้วน             คำว่า อาสนะ มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า อาส ซึ่งหมายถึง มีอยู่ อาศัยอยู่ใน นั่งเงียบๆ อยู่อาศัย พำนัก ตามศัพท์ อาสนะ หมายถึง การนั่งหรือนั่งในท่าใดท่า หนึ่ง ในเรื่องโยคะอาสนะ หมายถึง ท่าและตำแหน่งตางๆ ในการฝึกโยคะ เช่น การยืนด้วยศีรษะ (ศีรษะอาสนะ) ท่าดอกบัว (ปัทมอาสนะ) ฯลฯ                   อาสนะนับเป็นหนึ่งในแปดแขนงของโยคะแบบดั้งเดิม ในตำราโยคะสูตร มีส่วนที่ ว่าด้วยปรัชญาของโยคะ คือ "ปธังชลี" ซึ่งให้คำจำกัดความอาสนะด้วยคำ คำ คือ เสถียร และสุขุม เสถียรหมายถึง ความมั่นคง ความคงที่ ความแน่วแน่ โดยมากจากราศัพท์ว่า สถ ซึ่งหมายถึงการยืน สุขุมหมายถึงการผ่อนคลาย สบาย ความสุขเมื่อจิตของกายอยู่ในสภาวะที่ตรงข้ามกับเสถียรและสุขุม กล่าวคือ อยู่ในสภาวะไม่คงที่จำกัด ร้อนรนและไม่มีสมาธิจะทำให้เรามีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตอย่างยาก ลำบาก ขัดแย้ง เครียด และขาดความสุข การฝึกโยคะช่วยสร้างความคงที่และผ่อนคลายที่สัมผัสได้ ผ่านจิตของกาย อันจะก่อประโยชน์ทั้งด้านสมาธิและชีวิตประจำวันโดยทั่วไป
การฝึกโยคะนั้นต่างจากการออกกำลังกายแบบอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมกัน เช่น แอโรบิค ยกน้ำหนัก หรือวิ่งอย่างสิ้นเชิง จุดประสงค์ของการฝึกอาสนะไม่ใช่การพัฒนาความแข็งแรงของกล้าม เนื้อ หรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ (แม้โยคะจะมีประโยชน์เช่นนั้นด้วยก็ตาม) แต่โยคะมีจุด ประสงค์เพื่อฟื้นฟูจิตของกายให้กลับมาสู่สภาวะความเป็นอยู่ที่ดี ผ่อนคลาย และตื่นตัวอยู่เสมอ               การฝึกโยคะมีผลต่อจิตของกายในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านร่างกายโดยผ่อนคลาย รักษา และสร้างความแข็งแรง ยืดเส้นยืดสายระบบกระดูก กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ ระบบการย่อยอา หาร ต่อมต่างๆ ในร่างกาย และระบบประสาท ผลทางด้านจิตใจ จะเกิดผ่านการสร้างจิตใจที่สงบ ความตื่นตัวและสมาธิ ผลทางด้านจิตวิญญาณ คือ การเตรียมพร้อม สำหรับการทำสมาธิ และสร้างความแข็งแกร่งจาก "ภายใน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น